ขิง

| 0 Comments

ชื่ออังกฤษ              Ginger

ชื่อวิทายาศาสตร์   Zingiber officinale Roscoe

ชื่ออื่นๆ                   ขิงเผือก , สะเอ , ขิงแดง , ขิงแกลง , เกีย , กะแง็ย

 

ลักษณะพืช

ขิงเป็นไม่ล้มลุกขนาดใกล้เคียงกับกระชาย สูงประมาณ 50 – 100 เซนติเมตร แต่ใบเลี้ยงเดี่ยวเล็กเรียวยาวปลายแหลม จำนวนใบจะเยอะกว่ากระชายมาก ใบออกสลับตรงข้ามกัน ใบกว้าง 1 – 3 เซนติเมตร ยาว 10 – 25 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ มีกาบใบหุ้มลำต้นภายในที่เป็นข้อปล้องสีขาว

 

ออกดอกเป็นช่อสีขาว มีกาบสีเหลืองแกมเขียวแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดินห่อรองรับ ดอกจำนวนมากอัดแน่นเป็นรูปทรงกระบอกยาว 4 – 7 เซนติเมตร ก้านช่อยาว 10 – 20 เซนติเมตร

ขิง

เหง้าขิงสีเหลืองนวนอยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นแง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ มักงอโค้งและแตกแขนงคล้ายนิ้วมือ ผิวเปลือกเหง้าขิงอ่อนนิ่มสีนวน ปอกง่าย ขิงแก่เปลือกหนาขึ้นและมีสีน้ำตาล มีกลิ่นแรงกว่าขิงอ่อน

 

การปลูก

ขิงเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชีย เช่นไทย จีน อินเดีย นิยมปลูกใกล้ครัวเรือนเพื่อสะดวกในการเก็บมาประกอบอาหาร ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เหง้าแก่ ใส่ลงไปในหลุมดินเหนียวปนทรายผสมปุ๋ยหมัก ลึกประมาณ 3 –5 เซนติเมตร ปลูกเป็นแนวยาว ทิ้งช่วงห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตร เอาดินกลบแล้วใช้ฟางหรือทางมะพร้าวที่แห้งหล่นจากต้นมาคลุมกันแดดและรักษาความชุ่มชื้น แต่อย่าให้น้ำขังจะเน่าตาย ปลูกขึ้นง่ายในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

 

มักจะมีหนอนกระทู้ เพลี้ย และไส้เดือนฝอยมากินเหง้าขิง จึงควรหมั่นตรวจแปลงหลังฝนตก หมั่นกำจัดวัชพืช เมื่อต้นขิงโตอายุ 1 เดือนควรตักเอาดินข้างๆ มากลบโคนเพื่อให้น้ำตกลงไปในร่องข้างๆ ไหลออกไปทำให้ต้นขิงอยู่มั่นคงขึ้นด้วย ในบรรดาพืชที่อยู่วงศ์เดียวกันคือ ข่า , กระชาย , ขมิ้น ขิงจะเป็นพืชที่ปลูกยากที่สุด ควรปลูกเป็นแปลง 3 – 4 แปลง จึงจะพอใช้ในครัวเรือน เนื่องจากไม่ค่อยแตกหน่อ และหากต้องการมีใช้ตลอดปีจะต้องดูแลเป็นพิเศษ

 

ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ขิงส่วนที่เป็นเหง้า โดยเฉพาะเหง้าแก่สด มีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุน ใช้แก้คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง แก้ไอ ขับเสมหะ

 

การใช้ขิงรักษาอาการอาเจียน

1. ใช้เหง้าสดขนาดหัวแม่มือ ( ประมาณ 5 กรัม ) ทุบให้แตกต้มกับน้ำพอท่วม เอาน้ำมาจิบช้าๆ บ่อยๆ จะเติมน้ำตาลเล็กน้อยด้วยก็ได้

2. ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 0.6 กรัมใช้ชงน้ำร้อนเติมน้ำตาลดื่ม

 

การใช้ขิงรักษาอาการแน่นจุกเสียด

1. ใช้เหง้าสดขนาดหัวแม่มือ ( ประมาณ 5 กรัม ) ทุบให้แตก เทน้ำเดือดลงไป 1/2 แก้ว ปิดฝาตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำหรือทุบแหลกแล้วต้มกับน้ำพอท่วมให้เดือด แล้วเอาน้ำดื่ม 2 – 3 ครั้ง หรือ ต้มให้น้ำงวดเหลือครั้งหนึ่งแล้วจึงดื่มน้ำขิงข้นๆ

2. ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 0.6 กรัม ชงกับน้ำร้อนดื่ม

 

การใช้ขิงรักษาอาการไอ ขับเสมหะ

ใช้ขิงฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

สารเคมี  เหง้าขิงมีสารสำคัญเป็นน้ำมันชัน ( oleoresin ) ร้อยละ 5 – 8 เป็นสารหอมไม่ระเหย ทำให้ขิงมีรสเผ็ดร้อน คือ gingerol , zingiberene , zingiberone , zingibernol , shogaol fenchone camphene , cineol , citronellol ในน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีอยู่ร้อยละ 1 – 2 พบสาร bisaboline , zingiberone , zingiberol , zingiberene , limonene , citronellol , gingrol , camphene , borneol , cineol

 

1. ฤทธิ์การยับยั้งอาการอาเจียน ฉีดสารสกัดขิงด้วยเมทานอล 50% ในขนาด 10 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้กบทดลองที่ทำให้อาเจียนด้วย copper sulfate พบว่าสามารถต้านอาการอาเจียนได้ และยังมีผู้พบว่าสารสกัดขิงด้วย acetone หรือ 50% ethanol ให้ผลในการป้องกันการอาเจียนที่เกิดจาก cisplatone แต่สารสกัดน้ำไม่ได้ผล และสารสกัดขิงไม่สมารถป้องกันการอาเจียนที่เกิดจาก apomorphine สารสำคัญในการออกฤทธิ์ยับยั้งอาเจียน คือ [6]–[8]–[10]–shogaol และ 10-gingerol

 

2. การทดลองใช้ยับยั้งอาการอาเจียนในคน

สารสกัดขิงด้วยเมทานอน 50% ในขนาด 10 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในอาสาสมัครอายุ 18 – 20 ปี จำนวน 36 คน เป็นชายและหญิงอย่าละครึ่ง ให้คนละ 940 มิลลิกรัมพบว่าสามารถต้านการอาเจียนได้

ใช้ผงขิงกับคนไข้ที่มีอาการวิงเวียน พบว่าได้ผลดีกว่ายา dimenhy drinate

ทดลองใช้กับผู้ป่วยหญิงที่กำลังผ่าตัดมดลูก โดยให้กินผลขิงบรรจุแคปซูลก่อนผ่าตัด พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับผงขิงจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ

 

3. ฤทธิ์ขับลม ขิงสามารถลดอาการจุกเสียดได้ดี เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งช่วยขับลม พบสารออกฤทธิ์คือ menthol , cineole ทั้งยังพบว่าสวนสารสกัดด้วยอะซีโตน คือ shogoal และ gingerol ช่วยขับลม

 

4. ฤทธิ์ขับน้ำดี สารสกัดขิงด้วย acetone และผงขิง มีสารสำคัญ คือ borneol , fenchone , 6-gingerol และ 10-gingerol ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดีออกมาช่วยย่อยอาหาร

 

5. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ น้ำมันหอมระเหยจากราก คือ 6-gingerol และ 6-shogaol สามารถการบีบตัวของลำไส้เล็ก คิดเป็น 12% ของ papaverine

 

6. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ เมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดขิงด้วยอะซีโตนในขนาด 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ 97.5% สารสำศัญในการออกฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ คือ furanogermerone และเมื่อทดลองทำให้หนูขาวเกิดแผลในกระเพาะด้วยกรด ethanol แล้วให้หนูขาวกิน zingiberine และ 6-gingerol ในขนาด 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และพบว่า 6-gingesulfonic acid, ginger glycolipid A , B และ C มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย

 

7. ฤทธิ์ลดการอักเสบ สารซึ่งให้รสเผ็ดในขิงคือ 6-shogaol ซึ่งพบในขิงแห้งมากกว่าขิงสด มีฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยป้องกันฤทธิ์ของ cycloo-xygenase activity Gingerol และมีสาร diarylheptanoid เป็นสารต้านการอักเสบ โดยออกฤทธิ์ต้านเอนไซม์ arachidonate-5-lipoxygenase

 

8. ฤทธิ์ลดการหลั่งกรด สารสกัดขิงด้วยแอลกอฮอล์ 50% สามารถลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้

 

9. ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย สารสกัดขิงมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli.

 

10. ฤทธิ์ยับยั้งการไอ สาร 6-shogaol มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการไอ โดย 6-shogaol ช่วยเพิ่มการหลั่งเมือกหล่อลื่นในลำคอ

Leave a Reply