วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554
by Jeerasak
0 Comments

กะเพรา

ชื่ออังกฤษ           Holy basil , Sacred basil

ชื่อวิทยาศาสตร์  Ocimum tenuiflorum Linn., Ocimum sanctum Linn.

ชื่ออืนๆ                กอมก้อดง กอมก้อ กะเพราขาว กะเพราแดง กะเพราขน ห่อกวอชู ห่อตูปลู อิ่นคิมหลำ มะเรียะเปร็อว

 

ลักษณะพืช

กะเพราเป็นพืชสวนครัว ไม้ล้มลุกทรงพุ่มขนาดเล็ก ต้นสูง 30-60 เซนติเมตร มีอยู่ 2 พันธุ์ คือกะเพราขาวกะเพราแดง กะเพราขาวจะมีใบและส่วนต่างๆ เป็นสีเขียวอ่อน กระเพราแดงจะมีส่วนต่างๆ และใบเป็นสีเขียวอมม่วงแดง มีกลิ่นแรงกว่ากะเพราขาว

กะเพรา

ลำต้นมีความแข็ง พ้นจากดินเล็กน้อยก็จะแตกกิ่งก้านสาขาออกไป ใบสีเขียวขนาดเล็กมากมายเต็มต้น เป็นใบเลี้ยงเดี่ยวรูปกลมค่อนข้างรี กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร ใบอ่อนนุ่ม ขอบหยักออกตรงข้ามกันมีขนเล็กๆ ปกคลุมไปหมดที่ใบและก้าน ใบมีกลิ่นหอม ยอดและใบอ่อนมีกลิ่นหอมกว่าส่วนอื่น มักใช้ส่วนยอดหรือใบอ่อนมาเป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร

 

ออกดอกเป็นช่อสูงขึ้นไปเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร ช่อยาว 8 –14 เซนติเมตรมีดอกติดอยู่โดยรอบช่อ ก้านดอกมีขน กลีบเลี้ยงมีข้างบนและข้างล่าง กะเพราขาวมีดอกสีขาว กระเพราแดงมีดอกสีแดง ผลมีขนาดเล็ก มี 4 ผลอยู่ด้วยกัน ผลแก่แห้งเป็นสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดเล็กสีดำอยู่มากมาย

 

การปลูก

กะเพราพบอยู่ทั่วไปในเมืองร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราคุ้นเคยกับกะเพรามานาน ปลูกได้ง่ายมากช่วงต้นฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือโปรยเมล็ดลงในดินร่วนซุยที่สวนครัว รดน้ำให้ชุ่ม ต้นงอกงามดีในฤดูฝน หรือใช้กิ่งปักชำก็ได้แต่ไม่ค่อยนิยม กะเพราปลูกขึ้นง่ายไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวนซึ่งต่างไปจากแมงลักที่แมลงชอบมากัดกิน การตัดแต่งกิ่งบ่อยด้วยมีดคม และการหมั่นเด็ดยอดไปปรุงอาหารหรือทำยาจะทำให้กะเพราแตกยอดมากขึ้น กะเพรามีอายุยืนยาวหลายปี ทนแดดทนแล้งได้ดีพอถึงฤดูฝนมาใหม่ เมล็ดที่เคยร่วงหล่นก็จะเกิดเป็นต้นอ่อนมากมาย จนต้องถอนทิ้งเพราะมีต้นอ่อนมากเกินไป สำหรับครอบครัวเล็ก มีต้นกะเพราไว้ 3-4 ต้น ก็พอใช้ ทั้งปรุงอาหาร เป็นผัก และใช้เป็นยารักษา

 

ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา  ใบและยอดทั้งสดและแห้ง มีรสเผ็ดร้อนฉุน ใช้มก้จุกเสียด แน่นท้อง โรคกระเพาะ ลดน้ำตาลในเลือด

 

การใช้กะเพรารักษาอาการแน่นจุกเสียด

1. สำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต ใช้ใบสด 1 กำมือหรือใบสด 25 กรัม ต้มกับน้ำให้เดือด แล้วเอาน้ำนั้นดื่มต่ามน้ำ หากใช้ใบกะเพราแห้งก็ควรมีน้ำหนัก 4 กรัม เอามาต้มกับน้ำแล้วดื่มครั้งละ 1 แก้วจนมีอาการดีขึ้น

2. สำหรับเด็กอ่อน ใช้ใบสด 3 ใบ ผสมเกลือบดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำผึ้งหยอดใส่ปากเด็กอ่อน 2-3 หยด นาน 2-3 วัน จะช่วยขับลมออกมาได้หมด

 

การใช้กะเพรารักษาโรคกระเพาะ

กินใบกะเพราสดทุกวันแก้โรคกระเพาะได้ (ไม่ได้บอกปริมาณ) แต่ทดลองในสัตว์ทดลองได้ผนดี

 

การใช้กะเพราลดน้ำตาลในเลือด

กินใบกะเพราสดทุกวันลดน้ำตาลในเลือดได้ ( ไม่ได้บอกปริมาณ ) หรือใช้ในรูปของการต้มก็ได้ ชงเป็นชาก็ได้ ควรกินคู่ไปกับยาแผนปัจจุบันแล้วสังเกตอาการ กับดูระดับน้ำตาลในเลือดแต่ละครั้งที่เจาะเลือด จากการทดลองป้อนสารสกัดใบกะเพราด้วยแอลกอฮอล์ 50% พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้มากกว่าร้อยละ 30

 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

สารเคมี  ในใบพบน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.35-0.6% เช่น apigenin , ocimol , linalool , essential oil , chavibetal ช่วยขับลมและทำให้เจริญอาหาร

 

1. ฤทธิ์ขับลม กะเพรามีน้ำมันหอมระเหยจึงมีฤทธิ์ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ

 

2. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ เมื่อป้อนสารสกัดกะเพราด้วยแอลกอฮอล์ 70% ทางท่อเข้าที่กระเพาะหนุขาวในขนาด 100 มิลลิกรัม/ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม มีผลรักษาแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากยา aspirin และเกิดจากวิธี Shay – induced ulcers รวมทั้งวิธีที่ใช้ความเย็นให้เกิดแผลในกระเพาะหนูขาว

 

3. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดใบสดหรือใบแห้ง ด้วยน้ำหรือสารสกัด 50% alcohol มีผลคลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้หนูตะเภาและกระต่าย ที่ถูกกระตุ้นด้วยสาร histamine , acetylcholine , carbachol

 

4. ฤทธิ์ขับน้ำดี กะเพรามี eugenol ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยให้การย่อยอาหารดีขึ้น

 

5. ฤทธิ์ลดการอักเสบ กะเพรามีสาร eugenol มีฤทธิ์ลดการอักเสบโดยยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin

 

6. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านฮีสตามีน กะเพรามี ursolic acid ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง histamine จาก mast cell

 

7. ฤทธิ์ป้องกันตับอับเสบ เมื่อฉีดสารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ 70% เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ในขนาด 200 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมพบว่าป้องกันตับอักเสบ เนื่องจาก carbontetrachloride ได้

 

8. การทดสอบความเป็นพิษ เมื่อฉีดสารสกัดจากใบด้วยแอลกอฮอล์ 50% เข้าช่องท้องหนูถีบจักรขนาด 1 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่พบพิษเช่นเดียวกัน


by Jeerasak
0 Comments

ตะไคร้หอม

ชื่ออังกฤษ           Citronella Grass

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cymbopogon nardus ( Linn. ) Rendle , Cymbopogon winterianus Jowitt.

ชื่ออืนๆ                ตะไคร้แดง , จะไคมะขูด ตะไคร้มะขูด

 

ลักษณะพืช

คะไคร้หอมเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า อายุยืนนานหลายปี ลำต้นตั้งตรง ความสูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยวแคบยาว เรียงสลับ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร แผ่นใบและขอบใบสากและคม นิ่มกว่าใบตะไคร้เล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่าใบตะไคร้ ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

ตะไคร้หอม

ช่อดอกแทงออกจากกลางต้น สีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่ มีใบประดับลักษณะกาบรองอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ แกนกลางช่อดอกและก้านช่อดอกมีขน ผลแห้ง ไม่แตก ตะไคร้หอมก็เช่นเดียวกับตะไคร้คือ ยากที่จะออกดอกผล เท่าที่ปลูกมาตลอดหลายปียังไม่เคยเห็นดอดของตะไคร้หอมเลย

 

การปลูก

นิยมปลูกตะไคร้หอมในสวนครัวหรือปลูกรอบบ้าน ขยายพันธุ์โดยตัดเอาเหง้ามีรากติกมาด้วย ตัดเอาใบออกไปเพื่อลดการคายความชื้น ปลูกลงในดินร่วมซุย รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้น้ำขัง เมื่อแตกยอดแล้วไม่จำเป็นต้องรดน้ำ เป็นพืชทนแดดทนแล้ง

 

ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา  เหง้า ใบ และกาบ มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีขายในชื่อว่า citronella oil ใช้เป็นยาทากันยุง และเป็นสารแต่งกลิ่นในเครื่องสำอางบางชนิด

 

การใช้ตะไคร้หอมไล่ยุง

1.  ใช้ต้นตะไคร้หอม ทุบวางไว้ข้างๆ

2.  ใช้สารสกัดตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ ชุบสำลีวางไว้ใกล้ๆ ตัว

3.  ใช้น้ำมันทาตามตัว

 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

สารเคมี  น้ำมันหอมระเหย มี 0.4-0.9% ประกอบด้วย geramiol 57.6-61.1 % , citronellal 7.7-14.2 % eugenol , camphor , methyl eugenol

 

1. ฤทธิ์ไล่ยุง และแมลง  น้ำมันตะไคร้หอม ( citronella oil ) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลง เช่น ยุงได้และใช้กำจัดศัตรูพืชได้ สารสำคัญในการออกฤทธิ์ไล่ยุงคือ camphor , cineol , eugenol , linalool , citronellal , citral

 

2. การทดลองไล่ยุง  ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ใช้ครีมที่มีส่วนผสมน้ำมันหอมระเหย 17% พบว่ามีฤทธิ์ไล่ยุงได้ 3 ชั่วโมง

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพป้องกันยุงกัด ของครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้หอม 20% พบว่ามีฤทธิ์ไล่ยุงได้นานประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไป

 

3. การทดสอบความเป็นพิษ  สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ ( 1:1 ) จากต้นทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดลอง คือ 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม


by Jeerasak
0 Comments

ตะไคร้

ชื่ออังกฤษ            Lapine , Lemon grass

ชื่อวิทยาศาสตร์   Cymbopogon citratus (De.) Stapf.

ชื่ออื่นๆ                 จะไค , จะไค้ , คาหอม , จะไคร , ไคร , เชิดเกรย , หัวสิงไค , เหลอะเกรย , สะเหลอะเกรย , ซีเร

 

ถิ่นกำเนิด อินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย อเมริกาใต้ ไทย

 

ลักษณะพืช

ตะไคร้เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญาทีมีอายุนานได้หลายปี แตกหน่อออกจนอยู่เป็นกอกหน่าแน่นขนาดใหญ่ ลำต้นสูง 1-2 เมตร ลำต้นตรงสีเขียวอ่อนมีนวนขาว ประกอบด้วยกาบใบซ้อนเป็นชั้นๆ อัดแน่น ใบยาวเรียวแหลมและสาก ขอบใบเรียบและคม สากมือทั้งสองด้าน เวลาจับหรือตัดต้นตะไคร้ต้องระวังเพราะใบจะบาดผิวหนังเอาได้ง่าย ลำต้นและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เป็นพืชที่ออกดอกอยาก ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ ผลมีขนาดเล็ก เท่าที่ปลูกมายังไม่เคยเห็นดอกตะไคร้แม้จะทิ้งไว้นานข้ามปีแล้วก็ตาม

ตะไคร้ การปลูก

นิยมปลูกตะไคร้ในสวนครัว ขยายพันธุ์โดยตัดเอาเหง้ามีรากติดมาด้วย ตัดเอาใบออกไปเพื่อลดการคายความชื้น ปลูกลงในดินร่วนซุยลึก ประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้น้ำขัง

เมื่อแตกยอดแล้วไม่จำเป็นต้องรดน้ำ เป็นพืชทนแดดทนแล้ง ปลูกได้ทุกฤดูกาล และแตกหน่อเร็วมาก

 

 ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ลำต้น มีรสเผ็ดร้อน ฉุนและเฝื่อน ใช้รักษาท้องอืด ขับปัสสาวะ แก้กลาก

 

สรรพคุณ

ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ

หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย

ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย


น้ำมันจากใบและต้น – แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม สบู่

ลำต้นแก่หรือเหง้า – แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ขับประจำเดือน

 

การใช้ตะไคร้รักษาอาการท้องอืด แน่นจุกเสียด

1. นำตะไคร้ทั้งตันรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อนต้อมกับน้ำเคี่ยวน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือน้ำ 1 ส่วน ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ดื่มประมาณ 3 วัน จะหายดี

2. นำต้นแก่สดๆ ทุบพอแหลกประมาณ 1 กำมือ ( 40-60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ดื่มประมาณ 3 วัน

 

การใช้ตะไคร้ขับปัสสาวะ

ใช้ลำต้น 1 กำมือ ( 40-60 กรัม ) ทุบพอแหลก ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว ติดต่อกันหลายวันจนรู้สึกอาการดีขึ้น

 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

ใบและต้นตะไคร้มีน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ citral เป็นส่วนใหญ่และอื่นๆ เช่น euginol , camphor , geraniol , menthol และ citronellol

 

1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้  น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีสารเคมีที่ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ คือ menthol , cineole , camphor , linalool จึงลดอาการแน่นจุกเสียด

 

2. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุอาการแน่นจุกเสียด  สารเคมีในน้ำมันหอมระเหย คือ citral , citronellol , geraneol และ cineole มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ได้แก่เชื้อ E.coli ส่วนน้ำมันหอมระเหยก็มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียเช่นกัน

 

3. ฤทธิ์ขับน้ำดี ตะไคร้มีสารช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยย่อย คือ borneol และ fenchone และ cineole

 

4. ฤทธิ์ขับลม  ยาชงตะไคร้เมื่อให้กินจะไม่มีผลขับลม แต่ถ้าให้โดยฉีดทางช่องท้องจะให้ผล สารเคมีในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ ช่วยขับลมจึงลดอาการแน่นจุกเสียด และมี menthol , camphor และ linalool ช่วยขับลม

 

5. ฤทธิ์ต้านเชี้อรา จากการทดลองในหลอดทดลอง พบว่าน้ำมันหอมละเหยจากตะไคร้ ได้แก่ citral , myrcene ฆ่าเชื้อกลากได้ แต่ไม่มีข้อมูลการใช้รักษากลากในคน

 

6. การทดสอบความเป็นพิษ

  • ทดลองพิษของน้ำมันตะไคร้ในหนูขาว โดยกิน พบว่าอัตราส่วนระหว่างขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตาย 50% ของจะนวนที่ทดลอง
  • เมื่อให้หนูกินน้ำยาชงตะไคร้เป็นเวลา 2 เดือน ในขนาดมากกว่าคน 20 เท่า ไม่พบอันตราย
  • ให้คนไข้กินยาชงจากตะไคร้ครั้งเดียวหรือทุกวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเคมีในเลือด ปลอดภัยต่อตับและไต

    วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554
    by Jeerasak
    0 Comments

    กระเทียม

    ชื่ออังกฤษ           Garlic

    ชื่อวิทยาศาสตร์   Allium sativum Linn.

    ชื่ออืนๆ                เทียม หัวเทียม หอมเทียม กะติมซอ กระเทียมขาว หอมขาว

     

    ลักษณะพืช

    กระเทียมเป็นพืชผักสวนครัว มีลำต้นใต้ดินเรีกว่าเป็นส่วนหัวกลมป้อม หัวกระเทียมจะมีหลายกลีบติดกันแน่น มีเปลือกนอกเป็นแผ่นบางสีขาวหลายแผ่นซ้อนกัน ซึ่งเป็นส่วนของโคนใบ กลีบเนื้อมีสีขาวและมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ถ้าหัวกระเทียมมีอันเดียวเรียกว่ากระเทียมโทน ซึ่งนิยมนำมาดองขาย ส่วนหัวเป็นส่วนสำคัญที่นำมาเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารต่างๆ มากมายหลายอย่าง

     

    ต้นกระเทียม สูง 30-50 เซนติเมตร ประกอบด้วยใบสีเขียวยาวแบนแคบและกลวง ปลายใบแหลม เรียงซ้อนกัน ด้านล่างมีรอยพับเป็นสันตลอดความยาวของใบ ออกดอกชนิดรวมเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายก้านช่อที่ชูอยู่สูง ดอกมีสีขาวอมเหลืองหรือบางสายพันธุ์มีสีอมชมพูอมม่วง ออกผลขนาดเล็กมี 3 พู

     

    การปลูก

    กระเทียมปลูกขึ้นได้ง่ายในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว โดยเอาหัวกระเทียมไปแช่น้ำ 1 คืน เพื่อให้รากงอกออกเร็วแล้วเอาไปลงแปลงผักที่เตรียมไว้ นิยมยกแปลงให้สูงกว่าพื้นดินและใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้ากับดิน กระเทียมชอบอากาศเย็นและดินร่วนซุย มีน้ำสม่ำเสมอ

     

    จนกว่าต้นแก่และหัวโตเต็มที่จึงจะไม่ต้องการน้ำ ปล่อยให้หัวกระเทียมแห้ง อายุ 100 วันขึ้นไปแล้วขุดเอากระเทียมออกไปตากแดดให้แห้งจะเก็บหัวกระเทียมไว้ได้นาน ไม่เน่าเสียหรือขึ้นรา ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะปลูกช่วงฤดูฝน เพราะมีน้ำมากเกินไป แม้ในช่วงโตเต็มที่ซึ่งช่วงเวลาที่ควรจะให้หัวกระเทียมแห้งก็ยังมีน้ำฝนอยู่

     

    ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา  ใช้หัวกระเทียม ที่มีรสเผ็ดร้อนฉุน รักษากลากเกลื้อน ท้องอืด ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด

     

    การใช้กระเทียมรักษาอาการท้องอืน แน่นจุกเสียด

    1. 1. นำกระเทียม 5-7 หลีบบดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากันกรองเอาน้ำดื่ม
    2. 2. นำกระเทียมปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด กินกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย เพราะมีเอมไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร

     

    การใช้กระเทียมรัษากลากเกลื้อน

    1. นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงแก้ออกแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน

    2. นำใบมีดมาขูดผิวหนังส่วนที่เป็นกลากเกลื้อนให้พอเลือดซึมแล้วใช้กระเทียมทาลงไป ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย สารอัลลิซินเป็นสารออกฤทธิ์ทำลายเซื้อกลากเกลื้อน สารนี้สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อนความชื้น การใช้กระเทียมเก่าที่เก็บไว้นาน จะมีสารอัลลิซินเหลืออยู่น้อย

     

    1. การใช้กระเทียมลดความดันโลหิต
    2. 1. กินกระเทียมสดครั้งละ 5 กรัม วันละ 3 เวลา พร้อมหรือหลังอาหาร ช่วยลดไขมันในเลือดและส่งผลช่วยลดความดันโลหิต จากการทดลองในคนโดยให้กินกระเทียมในปริมาณดังกล่าวนาน 1 เดือน พบว่าระดับคอเลสเตอรอลดลง
    3. 2. หากไม่ชอบกินสดๆ ให้กินกระเทียมผงอัดเม็ดหรือน้ำมันกระเทียมในแคปซูลครั้ละ 2 แครปซูล วันละ 3 ครัง หลังอาหาร

     

    การใช้กระเทียมลดน้ำตาลในเลือด

    1. กินกระเทียมสดครั้งละ 5 กรัม วันละ 3 เวลา พร้อมหรือหลังอาหาร โดยมีสารอัลลิซิน ( allicin ) ที่ไปกระตุ้นการหลั่งอิซูลินออกมามากขึ้น ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดลดลง

    2. หากไม่ชอบกินสดๆ ให้กินกระเทียมผงอัดเม็ดหรือน้ำมันกระเทียมในแคปซูลครั้ละ 2 แครปซูล วันละ 3 ครัง หลังอาหาร กระเทียมผงอัดเม็ดหรือน้ำมัมกระเทียมในแคปซูลจะไปแตกตัวในลำใส้ ทำให้รอดพ้นจากการถูกทำลายโดยเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร

     

    ข้อควรระวัง

    1. กระเทียมที่เก็บไว้นานทำให้สารสำคัญ คือ อัลลิซินและเอนไซม์อัลลิเนสสลายไป ทำให้คุณสมบัติการฆ่าเชื้อกลาก ลดคอเลสเตอรอลในเลือดลดน้ำตาลในเลือดทุกอย่างลดลง

    2. คนที่เป็นโรคกระเพาะ หากกินกระเทียมสดตอนท้องว่าง อาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร เพราะสารอัลลิซินจะไปกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยอาหารออกมาทำให้มีสภาพเป็นกรดมากขึ้น และหากกินแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้กินกระเทียมน้อยลง

     

    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

    สารเคมี   หัวกระเทียมสดพบสารกำมะถันหลายชนิด คือ alliin , allicin , diallyl disulfide , diallyl trisulfide ,  methyl ally trisulfide , dithiins ajoene และพบน้ำย่อยเอนไซม์หลายชนิด คือ allinase scordinine A , scordinine B รวมทั้งพบน้ำมันหอมระเหย ร้อยละ 0.1-0.4 คือ diallyl , allicin , diallyl trisulfide

     

    1. ฤทธิ์ขับน้ำดี กระเทียมจะไปเพิ่มการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะและขับน้ำดี ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น ผลคือหายจากอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีการทดลองให้สารสกัดกระเทียมด้วยบิวธานอลกับคนไข้ 30 คน ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ พบว่าระงับอาการปวดท้องและขับลมได้ดี เมื่อสกัดทำเป็นเม็ดกระเทียม แล้วทดลองในคนไข้ 29 ราย ขนาดยา 0.64 กรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารกลางวันและเย็น เป็นเวลา 2สัปดาห์ สามารถขับลมและลดอาการจุกเสียด คลื่นไส้ พบว่าใช้ได้ดีทั้งอาการจุกเสียดแบบธรรมดาและเนื่องจากอาการประสาท จากการถ่าย X-ray พบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวแบบขับเคลื่อนของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กทำให้ลมกระจายตัว ผู้วิจัยเรียกสารออกฤทธิ์นี้ว่า gastroenteric allechalcone

     

    2. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มีรายงานว่ากระเทียมออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคที่เรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียด เช่น E. coli , Shigella spp. เป็นต้น โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ allicin ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังก็ให้ผลดี เช่น ฆ่าเชื้อ S.aureus , Strptococcus spp., Pseudomas spp.

     

    3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา มีผู้ทดลองฤทธิ์ต้านเชื้อราของกระเทียมมากมายพบว่าสารสกัดด้วยน้ำและน้ำมันหอมระเหย สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลากเกลื้อน คือชนิดกลาก Trichophyton ชนิดกลาก Epidermophyton และชนิดเกลื้อน Microsporum ได้ดี สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา เป็นสารที่ไม่คงตัว พบได้น้อยไนกระเทียมในรูปของสาร alliin เมื่อเซลลูโลสกระเทียมถูกทำลาย สาร alliin จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร allicin ซึ้งเป็นสารออกฤทธิ์ และสาร allicin ที่อุณหภูมิต่ำๆ จะเปลี่ยนเป็นสาร ajoene ซึ้งยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา เช่าเดียวกับสาร allicic

     

    4. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกฮอล์ 95% มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้กระต่าย ซึ้งให้ผลในคนแบบเดียวกัน

     

    5. การทดลอบความเป็นพิษ

    • ให้หนูกินสารสกัดกระเทียมด้วยอีเทอร์ขนาด 2-4 กรัม ทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีพิษต่อตับ หัวใจ ไต ต่อมหมวกไต ม้าม ไทรอยด์
    • เมื่อป้อนสารสกัดกระเทียมด้วยด้วยแอลกอฮอล์ 95% แก่หนูขาวซึ้งขาดน้ำดี ไม่พบพิษแต่อย่างใด แต่ว่าสารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์หรืออะซิโตน ทำให้เกิดอาการแพ้ในคน
    • ฉีดสารสกัดสีขาวไม่มีกลิ่น ละลายน้ำ พบว่ามีฤทธิ์ลดปริมาณแคลเซียม ทำให้หนูทดลองมีอาการกระวนกระวาย เดินไม่ตรง เคลื่อนไหวช้า และเกิดอาการโคม่า ปริมาณที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง คือ 222 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัม

     


    by Jeerasak
    0 Comments

    ตำลึง

    ชื่อภาษาอังกฤษ   ivy gourd

    ชื่อวิทยาศาสตร์   Coccinia grandis (L.) J.Voigt

    ชื่ออื่น                   แคเด๊าะ , ผักแคบ , บาจ , สี่บาท

     

    ลักษณะพืช

    ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่นอายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น ใบเดี่ยวสีเขียวรูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 6-7 เซนติเมตร ออกสลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่แยกต้นออกจากกัน

    ตำลึง ดอกสีขาวปลายกลีบห้าแฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง ตำลึงตัวเมียมีผลเป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร เมื่อผลอ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผนสุกเต็มที่สีแดง ภายในมีเมล็ดมากมายส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผลเลย

     

    การปลูก

    ตำลึงเป็นพืชเมืองร้อน แถบเอเชีย แอฟริกาพบได้ตามรั้วบ้าน รั้ววสวน เลื้อยตามไม้ยืนต้นทั่วๆไป ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือใช้เถาแก่ 1 ศอก มาปลูกลงในดินร่วมซุย รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 7 วันจะมียอดอ่อนแตกให้เห็น ในฤดูฝนตำลึงแตกยอดมากและอวบอ้วนน่ากิน ถ้าเคยปลูกแล้วต้นตายไป เมื่อถึงฤดูฝนใหม่ ตำลึงมักจะงอกจากเมล็ดที่ร่วงหล่นออกมาจากพื้นดิน ไม่ต้องปลูกใหม่เลย

     

    ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา  ใบสด ยอดอ่อน ราก เถา ผล มีรสเย็น ใช้แก้คัน แมลงสัตว์กัดต่อย ลดน้ำตาลในเลือด

     

    สรรพคุณ

    ตำลึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก และฟัน และยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอาซิน วิตามินซีและอื่น ๆ นอกจากนี้ จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร อีกด้วย สำหรับตำรายาแผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดงและตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด

     

    ราก : แก้ดวงตาเป็นฝ้า ลดความอ้วน แก้ไข้ทุกชนิด ดับพิษทั้งปวง ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนภายใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบต่อย

     

    ต้น : กำจัดกลิ่นตัว น้ำจากต้น รักษาเบาหวาน

     

    เปลือกราก : เป็นยาถ่าย ยาระบาย

     

    เถา : แก้ฝี ทำให้ฝีสุก แก้ปวดตา แก้โรคตา แก้ตาฝ้า ตาแฉะ แก้พิษอักเสบจากลูกตา ดับพิษร้อน ถอนพิษ เป็นยาโรคผิวหนัง แก้เบาหวาน

     

    ใบ : เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษามะเร็งเพลิง แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด แก้หืด รักษาผื่นคันที่เกิดจากพิษของหมามุ้ย ตำแย บุ้งร่าน ใช้เป็นยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษทั้งปวง แก้ปวดแสบปวดร้อน ถอนพิษคูน แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย แก้ไข้หวัด แก้พิษกาฬ แก้เริม แก้งูสวัด

     

    ผล : แก้ฝีแดง

    ทั้งห้า รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม รักษาเบาหวาน

     

    การใช้ตำลึงเป็นยาแก้คัน แมลงกัดต่อย

    แก้พิษสัตว์กัดต่อย หรือเมื่อไปถูกพืชมีพิษที่ทำให้คัน เช่น ตำแย หมามุ่ย ปรง โดยเอาใบตำลึงสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียดแล้วผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำตำลึงข้นๆ มาทาบริเวณที่คัน ทาซ้ำบ่อยๆ หรือจะตำแล้วเอามาพอกติดไว้เลยก็ได้เหมือนกัน เมื่อพอกจนแห้งแล้วก็เอาใบตำลึงอันใหม่มาตำพอกซ้ำจนกว่าจะหาย สำหรับพืชที่มีขนติดกับผิวหนังเรา เช่นหมามุ่ย ขนของมันทำให้เราคัน ควรที่จะเอาขนออะด้วยการเอาเทียนมาคลึงผิวหนังหรือเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมมากลิ้งบนผิวหนังให้ขนหมามุ่ยติดออกไปกับข้าวเหนียว จากนั้นค่อยใช้ตำลึงมาตำพอกลดคัน

     

    การใช้ตำลึงลดน้ำตาลในเลือด

    การนำมากินเพื่่อลดน้ำตาลในเลือดนั้น ยังไม่มีข้อแนะนำที่แน่ชัด คนที่เป็นเบาหวานจะลองกินเช้า-เย็นดูก่อนก็ได้ประมาณ 7 วัน แล้วสังเกตุอาก่ารตนเองว่าดีขึ้นหรือไม่ คนที่เป็นเบาหวานจะรู้ตัวดีว่าอาการดีขึ้นหรือแย่ลง ซึ่งทราบชัดเจนขึ้นเมื่อไปเจาะเลือดดูระดับน้ำตาลในเลือดตามนัด

     

    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

    ในผลตำลึงมีสารสำคัญคือ cucurbitacin B และในใบตำลึงมีกด อมิโนหลายชนิด และมีสาร B-sitosterol ออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้รวดเร็ว

     

    1.ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด การทดลองในคนไข้เบาหวาน ให้กินตำลึงวันละ 2 ครั้ง พบว่าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ด้วยการดื่มน้ำคั้นจากใบและต้น ส่วนการทดลองในสัตว์นั้นมีรายงานว่า ทดลองใช้น้ำคั้นจากใบและต้นตำลึงและสารสกัดจากต้นตำลึงด้วยแอลกอฮอล์ 95% ให้กระต่ายกิน มีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดกระต่ายลดลง ด้วยฤทธิ์ของสาร alloxan จากตำลึง

     

    2. มีข้อมูลว่า ตำลึงช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้ง ในตำลึงมี เอนไซม์อะมายเลส ซึ่งช่วยย่อยแป้ง ข้าว ขนม ลดอาการท้องอืด แต่ควรกินในรูปน้ำคั้นสด ใบสดหรือใบตำลึงผ่านการปรุงด้วยความร้อนที่ไม่สูงนักเพราะถ้าผ่านความร้อนมาก เอนไซม์จะถูกทำลาย ถ้าทราบว่าท้องอืดเพราะกินอาหารจำพวกแป้งมาก ก็คั้นน้ำตำลึงมาดื่ม อาจได้ผล แต่ถ้ากินอาหารจำพวกไขมันสูงแล้วทำให้ท้องอืด จะใช้น้ำตำลึงช่วยย่อยแก้ท้องอืดไม่ได้ เพราะเอนไซม์ที่ย่อยไขมันไม่มีอยู่ในใบตำลึง