ตะไคร้

| 0 Comments

ชื่ออังกฤษ            Lapine , Lemon grass

ชื่อวิทยาศาสตร์   Cymbopogon citratus (De.) Stapf.

ชื่ออื่นๆ                 จะไค , จะไค้ , คาหอม , จะไคร , ไคร , เชิดเกรย , หัวสิงไค , เหลอะเกรย , สะเหลอะเกรย , ซีเร

 

ถิ่นกำเนิด อินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย อเมริกาใต้ ไทย

 

ลักษณะพืช

ตะไคร้เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญาทีมีอายุนานได้หลายปี แตกหน่อออกจนอยู่เป็นกอกหน่าแน่นขนาดใหญ่ ลำต้นสูง 1-2 เมตร ลำต้นตรงสีเขียวอ่อนมีนวนขาว ประกอบด้วยกาบใบซ้อนเป็นชั้นๆ อัดแน่น ใบยาวเรียวแหลมและสาก ขอบใบเรียบและคม สากมือทั้งสองด้าน เวลาจับหรือตัดต้นตะไคร้ต้องระวังเพราะใบจะบาดผิวหนังเอาได้ง่าย ลำต้นและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เป็นพืชที่ออกดอกอยาก ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ ผลมีขนาดเล็ก เท่าที่ปลูกมายังไม่เคยเห็นดอกตะไคร้แม้จะทิ้งไว้นานข้ามปีแล้วก็ตาม

ตะไคร้ การปลูก

นิยมปลูกตะไคร้ในสวนครัว ขยายพันธุ์โดยตัดเอาเหง้ามีรากติดมาด้วย ตัดเอาใบออกไปเพื่อลดการคายความชื้น ปลูกลงในดินร่วนซุยลึก ประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้น้ำขัง

เมื่อแตกยอดแล้วไม่จำเป็นต้องรดน้ำ เป็นพืชทนแดดทนแล้ง ปลูกได้ทุกฤดูกาล และแตกหน่อเร็วมาก

 

 ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ลำต้น มีรสเผ็ดร้อน ฉุนและเฝื่อน ใช้รักษาท้องอืด ขับปัสสาวะ แก้กลาก

 

สรรพคุณ

ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ

หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย

ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย


น้ำมันจากใบและต้น – แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม สบู่

ลำต้นแก่หรือเหง้า – แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ขับประจำเดือน

 

การใช้ตะไคร้รักษาอาการท้องอืด แน่นจุกเสียด

1. นำตะไคร้ทั้งตันรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อนต้อมกับน้ำเคี่ยวน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือน้ำ 1 ส่วน ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ดื่มประมาณ 3 วัน จะหายดี

2. นำต้นแก่สดๆ ทุบพอแหลกประมาณ 1 กำมือ ( 40-60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ดื่มประมาณ 3 วัน

 

การใช้ตะไคร้ขับปัสสาวะ

ใช้ลำต้น 1 กำมือ ( 40-60 กรัม ) ทุบพอแหลก ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว ติดต่อกันหลายวันจนรู้สึกอาการดีขึ้น

 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

ใบและต้นตะไคร้มีน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ citral เป็นส่วนใหญ่และอื่นๆ เช่น euginol , camphor , geraniol , menthol และ citronellol

 

1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้  น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีสารเคมีที่ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ คือ menthol , cineole , camphor , linalool จึงลดอาการแน่นจุกเสียด

 

2. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุอาการแน่นจุกเสียด  สารเคมีในน้ำมันหอมระเหย คือ citral , citronellol , geraneol และ cineole มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ได้แก่เชื้อ E.coli ส่วนน้ำมันหอมระเหยก็มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียเช่นกัน

 

3. ฤทธิ์ขับน้ำดี ตะไคร้มีสารช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยย่อย คือ borneol และ fenchone และ cineole

 

4. ฤทธิ์ขับลม  ยาชงตะไคร้เมื่อให้กินจะไม่มีผลขับลม แต่ถ้าให้โดยฉีดทางช่องท้องจะให้ผล สารเคมีในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ ช่วยขับลมจึงลดอาการแน่นจุกเสียด และมี menthol , camphor และ linalool ช่วยขับลม

 

5. ฤทธิ์ต้านเชี้อรา จากการทดลองในหลอดทดลอง พบว่าน้ำมันหอมละเหยจากตะไคร้ ได้แก่ citral , myrcene ฆ่าเชื้อกลากได้ แต่ไม่มีข้อมูลการใช้รักษากลากในคน

 

6. การทดสอบความเป็นพิษ

  • ทดลองพิษของน้ำมันตะไคร้ในหนูขาว โดยกิน พบว่าอัตราส่วนระหว่างขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตาย 50% ของจะนวนที่ทดลอง
  • เมื่อให้หนูกินน้ำยาชงตะไคร้เป็นเวลา 2 เดือน ในขนาดมากกว่าคน 20 เท่า ไม่พบอันตราย
  • ให้คนไข้กินยาชงจากตะไคร้ครั้งเดียวหรือทุกวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเคมีในเลือด ปลอดภัยต่อตับและไต

    Leave a Reply