กระเทียม

| 0 Comments

ชื่ออังกฤษ           Garlic

ชื่อวิทยาศาสตร์   Allium sativum Linn.

ชื่ออืนๆ                เทียม หัวเทียม หอมเทียม กะติมซอ กระเทียมขาว หอมขาว

 

ลักษณะพืช

กระเทียมเป็นพืชผักสวนครัว มีลำต้นใต้ดินเรีกว่าเป็นส่วนหัวกลมป้อม หัวกระเทียมจะมีหลายกลีบติดกันแน่น มีเปลือกนอกเป็นแผ่นบางสีขาวหลายแผ่นซ้อนกัน ซึ่งเป็นส่วนของโคนใบ กลีบเนื้อมีสีขาวและมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ถ้าหัวกระเทียมมีอันเดียวเรียกว่ากระเทียมโทน ซึ่งนิยมนำมาดองขาย ส่วนหัวเป็นส่วนสำคัญที่นำมาเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารต่างๆ มากมายหลายอย่าง

 

ต้นกระเทียม สูง 30-50 เซนติเมตร ประกอบด้วยใบสีเขียวยาวแบนแคบและกลวง ปลายใบแหลม เรียงซ้อนกัน ด้านล่างมีรอยพับเป็นสันตลอดความยาวของใบ ออกดอกชนิดรวมเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายก้านช่อที่ชูอยู่สูง ดอกมีสีขาวอมเหลืองหรือบางสายพันธุ์มีสีอมชมพูอมม่วง ออกผลขนาดเล็กมี 3 พู

 

การปลูก

กระเทียมปลูกขึ้นได้ง่ายในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว โดยเอาหัวกระเทียมไปแช่น้ำ 1 คืน เพื่อให้รากงอกออกเร็วแล้วเอาไปลงแปลงผักที่เตรียมไว้ นิยมยกแปลงให้สูงกว่าพื้นดินและใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้ากับดิน กระเทียมชอบอากาศเย็นและดินร่วนซุย มีน้ำสม่ำเสมอ

 

จนกว่าต้นแก่และหัวโตเต็มที่จึงจะไม่ต้องการน้ำ ปล่อยให้หัวกระเทียมแห้ง อายุ 100 วันขึ้นไปแล้วขุดเอากระเทียมออกไปตากแดดให้แห้งจะเก็บหัวกระเทียมไว้ได้นาน ไม่เน่าเสียหรือขึ้นรา ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะปลูกช่วงฤดูฝน เพราะมีน้ำมากเกินไป แม้ในช่วงโตเต็มที่ซึ่งช่วงเวลาที่ควรจะให้หัวกระเทียมแห้งก็ยังมีน้ำฝนอยู่

 

ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา  ใช้หัวกระเทียม ที่มีรสเผ็ดร้อนฉุน รักษากลากเกลื้อน ท้องอืด ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด

 

การใช้กระเทียมรักษาอาการท้องอืน แน่นจุกเสียด

  1. 1. นำกระเทียม 5-7 หลีบบดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากันกรองเอาน้ำดื่ม
  2. 2. นำกระเทียมปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด กินกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย เพราะมีเอมไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร

 

การใช้กระเทียมรัษากลากเกลื้อน

1. นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงแก้ออกแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน

2. นำใบมีดมาขูดผิวหนังส่วนที่เป็นกลากเกลื้อนให้พอเลือดซึมแล้วใช้กระเทียมทาลงไป ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย สารอัลลิซินเป็นสารออกฤทธิ์ทำลายเซื้อกลากเกลื้อน สารนี้สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อนความชื้น การใช้กระเทียมเก่าที่เก็บไว้นาน จะมีสารอัลลิซินเหลืออยู่น้อย

 

  1. การใช้กระเทียมลดความดันโลหิต
  2. 1. กินกระเทียมสดครั้งละ 5 กรัม วันละ 3 เวลา พร้อมหรือหลังอาหาร ช่วยลดไขมันในเลือดและส่งผลช่วยลดความดันโลหิต จากการทดลองในคนโดยให้กินกระเทียมในปริมาณดังกล่าวนาน 1 เดือน พบว่าระดับคอเลสเตอรอลดลง
  3. 2. หากไม่ชอบกินสดๆ ให้กินกระเทียมผงอัดเม็ดหรือน้ำมันกระเทียมในแคปซูลครั้ละ 2 แครปซูล วันละ 3 ครัง หลังอาหาร

 

การใช้กระเทียมลดน้ำตาลในเลือด

1. กินกระเทียมสดครั้งละ 5 กรัม วันละ 3 เวลา พร้อมหรือหลังอาหาร โดยมีสารอัลลิซิน ( allicin ) ที่ไปกระตุ้นการหลั่งอิซูลินออกมามากขึ้น ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดลดลง

2. หากไม่ชอบกินสดๆ ให้กินกระเทียมผงอัดเม็ดหรือน้ำมันกระเทียมในแคปซูลครั้ละ 2 แครปซูล วันละ 3 ครัง หลังอาหาร กระเทียมผงอัดเม็ดหรือน้ำมัมกระเทียมในแคปซูลจะไปแตกตัวในลำใส้ ทำให้รอดพ้นจากการถูกทำลายโดยเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร

 

ข้อควรระวัง

1. กระเทียมที่เก็บไว้นานทำให้สารสำคัญ คือ อัลลิซินและเอนไซม์อัลลิเนสสลายไป ทำให้คุณสมบัติการฆ่าเชื้อกลาก ลดคอเลสเตอรอลในเลือดลดน้ำตาลในเลือดทุกอย่างลดลง

2. คนที่เป็นโรคกระเพาะ หากกินกระเทียมสดตอนท้องว่าง อาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร เพราะสารอัลลิซินจะไปกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยอาหารออกมาทำให้มีสภาพเป็นกรดมากขึ้น และหากกินแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้กินกระเทียมน้อยลง

 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

สารเคมี   หัวกระเทียมสดพบสารกำมะถันหลายชนิด คือ alliin , allicin , diallyl disulfide , diallyl trisulfide ,  methyl ally trisulfide , dithiins ajoene และพบน้ำย่อยเอนไซม์หลายชนิด คือ allinase scordinine A , scordinine B รวมทั้งพบน้ำมันหอมระเหย ร้อยละ 0.1-0.4 คือ diallyl , allicin , diallyl trisulfide

 

1. ฤทธิ์ขับน้ำดี กระเทียมจะไปเพิ่มการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะและขับน้ำดี ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น ผลคือหายจากอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีการทดลองให้สารสกัดกระเทียมด้วยบิวธานอลกับคนไข้ 30 คน ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ พบว่าระงับอาการปวดท้องและขับลมได้ดี เมื่อสกัดทำเป็นเม็ดกระเทียม แล้วทดลองในคนไข้ 29 ราย ขนาดยา 0.64 กรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารกลางวันและเย็น เป็นเวลา 2สัปดาห์ สามารถขับลมและลดอาการจุกเสียด คลื่นไส้ พบว่าใช้ได้ดีทั้งอาการจุกเสียดแบบธรรมดาและเนื่องจากอาการประสาท จากการถ่าย X-ray พบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวแบบขับเคลื่อนของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กทำให้ลมกระจายตัว ผู้วิจัยเรียกสารออกฤทธิ์นี้ว่า gastroenteric allechalcone

 

2. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มีรายงานว่ากระเทียมออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคที่เรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียด เช่น E. coli , Shigella spp. เป็นต้น โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ allicin ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังก็ให้ผลดี เช่น ฆ่าเชื้อ S.aureus , Strptococcus spp., Pseudomas spp.

 

3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา มีผู้ทดลองฤทธิ์ต้านเชื้อราของกระเทียมมากมายพบว่าสารสกัดด้วยน้ำและน้ำมันหอมระเหย สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลากเกลื้อน คือชนิดกลาก Trichophyton ชนิดกลาก Epidermophyton และชนิดเกลื้อน Microsporum ได้ดี สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา เป็นสารที่ไม่คงตัว พบได้น้อยไนกระเทียมในรูปของสาร alliin เมื่อเซลลูโลสกระเทียมถูกทำลาย สาร alliin จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร allicin ซึ้งเป็นสารออกฤทธิ์ และสาร allicin ที่อุณหภูมิต่ำๆ จะเปลี่ยนเป็นสาร ajoene ซึ้งยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา เช่าเดียวกับสาร allicic

 

4. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกฮอล์ 95% มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้กระต่าย ซึ้งให้ผลในคนแบบเดียวกัน

 

5. การทดลอบความเป็นพิษ

  • ให้หนูกินสารสกัดกระเทียมด้วยอีเทอร์ขนาด 2-4 กรัม ทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีพิษต่อตับ หัวใจ ไต ต่อมหมวกไต ม้าม ไทรอยด์
  • เมื่อป้อนสารสกัดกระเทียมด้วยด้วยแอลกอฮอล์ 95% แก่หนูขาวซึ้งขาดน้ำดี ไม่พบพิษแต่อย่างใด แต่ว่าสารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์หรืออะซิโตน ทำให้เกิดอาการแพ้ในคน
  • ฉีดสารสกัดสีขาวไม่มีกลิ่น ละลายน้ำ พบว่ามีฤทธิ์ลดปริมาณแคลเซียม ทำให้หนูทดลองมีอาการกระวนกระวาย เดินไม่ตรง เคลื่อนไหวช้า และเกิดอาการโคม่า ปริมาณที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง คือ 222 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัม

 

Leave a Reply